เมนู

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งพระสัพพัญญุตญาณพิจารณาวารจิตของ
พราหมณ์นั้น ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้กำหนดปัจจัยที่ตนให้แม้ทั้งหมด
ว่าเป็นอกัปปิยะ ความจริง กถาเกิดขึ้นเพราะปรารภโภชนะใด โภชนะนั้นแล
ไม่มี กถานอกนั้นนไม่มีโทษ ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงประตูแห่งการถวายปัจจัย 4
แก่พราหมณ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อญฺเญน จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กุกฺกุจฺจํ วูปสนฺตํ ความว่า สงบความรำคาญเสียได้ด้วยอำนาจความ
คนองมือเป็นต้น. คำว่า อนฺเนน ปาเนน นี้เป็นเพียงเทศนา. ก็ความนี้
พึงทราบดังต่อไปนี้ ท่านจงบำรุงด้วยปัจจัยเหล่าอื่นมีจีวรเป็นต้น ที่ท่านกำหนด
ว่าจักบริจาค ข้อนั้นเป็นเขตของผู้มุ่งบุญ. ชื่อว่าคำสอนของพระตถาคตนี้
เป็นอันท่านผู้มุ่งบุญคือปรารถนาบุญตกแต่งแล้ว เหมือนพืชแม้น้อยที่หว่านลง
ในนาดี ย่อมให้ผลมาก ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอัคคิกสูตรที่ 8

9. สุนทริกสูตร



ว่าด้วยการบูชาไฟ



[658] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา
ในโกศลชนบท.
ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการ
บูชาไฟ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา.

ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟ
แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ เหลียวดูทิศทั้ง 4 โดยรอบ ด้วยคิดว่า ใครหนอควร
บริโภคปายาสอันเหลือจากการบูชานี้.
[659] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงคลุมอวัยวะพร้อมด้วยพระเศียร ประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้ว
ถือข้าวปายาสที่เหลือจากการบูชาไฟด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระเศียรด้วยเสียงเท้าของ
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์
ครั้งนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า นี้พระสมณะโล้น
ผู้เจริญ นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ แล้วประสงค์จะกลับจากที่นั้นทีเดียว.
ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้ความดำริว่า พราหมณ์
บางพวกในโลกนี้เป็นผู้โล้นบ้างก็มี ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพระสมณะผู้โล้น
นั้นแล้ว ถามถึงชาติ.
ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านเป็นชาติอะไร.
[660] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ท่านอย่าถามถึงชาติ แต่จงถามถึง
ความประพฤติเถิด ไฟย่อมเกิดจากไม่แล
บุคคลแม้เกิดในตระกูลต่ำเป็นมุนี มีความ
เพียรเป็นผู้รู้ทั่วถึงเหตุ ห้ามโทษเสียด้วย
หิริ ฝึกตนแล้วด้วยสัจจะ ประกอบด้วย

การปราบปราม ถึงที่สุดแห่งเวท มี
พรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว ผู้ใดมียัญอัน
น้อมเข้าไปแล้ว บูชาพราหมณ์ผู้นั้น ผู้นั้น
ชื่อว่าย่อมบูชาพระทักขิไณยบุคคลโดยกาล

[661] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า
การบูชานี้ของข้าพระองค์เป็นอัน
บูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้วเป็นแน่ เพราะ
ข้าพระองค์ได้พบผู้ถึงเวทเช่นนั้น และ
เพราะข้าพระองค์ไม่พบบุคคลเช่นพระองค์
ชนอื่นจึงบริโภคปายาสอันเหลือจากการ
บูชา.

สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญท่าน
พราหมณ์ผู้เจริญ เชิญบริโภคเถิด.
[662] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เราไม่บริโภคโภชนะที่ได้เพราะการ
ขับกล่อม ดูก่อนพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ธรรม
ของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมบรรเทาโภชนะที่ได้เพราะการขับ-
กล่อม ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่
นั่นเป็นความประพฤติ อนึ่ง ท่านจงบำรุง
พระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว ด้วยสิ่งอื่น

คือข้าวน้ำ เพราะว่าการบำรุงนั้นย่อมเป็น
เขตของผู้มุ่งบุญ.

[663] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นข้าพระองค์จะให้ปายาสอันเหลือจากการบูชานี้
แก่ใคร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. ดูก่อนพราหมณ์ เรายังไม่แลเห็นบุคคล
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ซึ่งจะบริโภคปายาสที่เหลือจากการบูชานี้แล้ว จะพึงถึงความ
ย่อยไปโดยชอบ นอกจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต ดูก่อนพราหมณ์ ถ้า
อย่างนั้นท่านจงทิ้งปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น ณ ที่ปราศจากของเขียว
หรือทิ้งให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์.
[664] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทิ้งปายาสอันเหลือจาก
การบูชานั้น ให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์.
ครั้งนั้นแล ปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น อันสุนทริกภารทวาช-
พราหมณ์เทลงแล้วในน้ำย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันกลุ้ม
เหมือนอย่างผาลที่เผาตลอดวัน อันบุคคลใส่ลงแล้วในน้ำ ย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ
วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันคลุ้ม ฉะนั้น.
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ หลากใจเกิดขนชูชัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[665] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ผู้
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเผาไม้อยู่อย่า
สำคัญซึ่งความบริสุทธิ์ ก็การเผาไม้นี้เป็น
ของภายนอก ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว
ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น ดูก่อน
พราหมณ์ เราละการเผาไม้ซึ่งบุคคล
พึงปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้
อันเป็นของมีในภายนอก แล้วยังไฟคือ
ญาณให้โพลงภายในตนทีเดียว เราเป็น
พระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์
มีจิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติ-
พรหมจรรย์อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ มานะแล
เป็นดุจภาระคือหาบของท่าน ความโกรธ
ดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็น
ประดุจภาชนะเครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้ง
กองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความรุ่ง-
เรืองของบุรุษ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้
ถึงเวททั้งหลายนั้นแล อาบให้ห้วงน้ำคือ
ธรรมของบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีลไม่ขุ่น
มัว อันบิณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มี
ตัวไม่เปียกแล้ว ย่อมข้ามถึงฝั่ง ดูก่อน
พราหมณ์ สัจธรรม ความสำรวม
พรหมจรรย์ การถึงธรรมอันประเสริฐ
อาศัยในท่ามกลาง ท่านจงกระทำความ


นอบน้อมในพระขีณาสพผู้ตรงทั้งหลาย
เรากล่าวคนนั้นว่าผู้มีธรรมเป็นสาระ.

[666] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาช-
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ฯลฯ ก็แหละท่านพระภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้.

อรรถกถาสุตทริกสูตร



ในสุนทริกสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุนฺทริกภารทฺวาโช ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้นเพราะบูชาไฟที่
ฝั่งแม่น้ำ ชื่อว่า สุนทุริกา. บทว่า สุนฺทริกาย ได้แก่แม่น้ำมีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า อคฺคึ ชุหติ ได้แก่ให้ไฟโพลงขึ้นด้วยการใส่ของบูชา. บทว่า อคฺคิหุตฺตํ
ได้แก่เข้าไปยังโรงไฟด้วยการขัดสีฉาบทา และพลีกรรมเป็นต้น. บทว่า โก
นุโข อิมํ หพฺยเสสํ ภุญฺเชยฺย
ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเห็นข้าว
ปายาสที่เหลือจากการบูชาไฟแล้วคิดว่า ข้าวปายาสที่ใส่ลงในไฟ อันมหาพรหม
บริโภคก่อนแล้ว แต่ข้าวปายาสนี้ยังเหลืออยู่ ถ้าว่าเราพึงให้ข้าวปายาสนั้นแก่
พราหมณ์ผู้เกิดแต่ปากพระพรหม เนื้อเป็นเช่นนี้ แม้บุตรพร้อมทั้งบิดาก็เป็น
ผู้เราเลี้ยงอิ่มหนำสำราญแล้ว และทางไปพรหมโลกก็เป็นอันเราทำให้บริสุทธิ์
ดีแล้ว. สุนทริกภารทวาชพราหมณ์นั้นลุกจากอาสนะ เหลียวแลดูทิศทั้ง 4 โดย